ทำความเข้าใจกับระบบการศึกษาไทย Addmission (O-Net, A-Net)

Home / Education / ทำความเข้าใจกับระบบการศึกษาไทย Addmission (O-Net, A-Net)

ทำความเข้าใจกับระบบการศึกษาไทย Admission (O-Net, A-Net)

2012106148351
Admission

Admission หรือภาษาไทยเรียกกันว่า “แอดมิชชั่น” คือระบบการคัดเลือกบุคคลที่ต้องการศึกษาต่อในสถาบันระดับอุดมศึกษา ซึ่งได้มีการนำมาใช้อย่างจริงจังในปี 2548 แทนระบบเดิม (เอนทรานซ์) ซึ่งในระบบใหม่นี้ คะแนนของผู้ที่ถูกคัดเลือกเข้าสู่สถาบันอุดมศึกษาจะไม่ได้มาจากการสอบเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังจะมีคะแนนบางส่วนที่ได้จาเกรดเฉลี่ยของโรงเรียนมาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาในการเข้าศึกษาต่อด้วย

admission

O-Net – A-Net

O-Net (Ordinary Nation Educational Test)
คือ แบบข้อสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน เป็นการวัดจาการการศึกษาขั้นพื้นฐานของการเรียนรู้ในช่วงชั้นที่ 4 โดยมีการจัดสอบทั้งหมด 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่
1. ภาษาไทย
2.คณิตศาสตร์
3.วิทยาศาสตร์
4.สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
5.ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)

โดยลักษณะของข้อสอบ O-Net จะประกอบไปด้วย
1. แบบทดสอบปรนัยและ อัตนัย ในอัตราส่วนระหว่าง 80%-90% : 10%-20% ข้อสอบปรนัยจะเป็นข้อสอบแบบ 5 ตัวเลือก และข้อสอบแบบอัตนัยเป็นการตอบคำถามสั้นๆ
2. เวลาในการทำข้อสอบวิชาละ 2 ชั่วโมง
3. ข้อสอบแต่ละข้อ คะแนนอาจจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู๋กับความยากง่าย
4. ข้อสอบครอบคลุมสาระและทักษะสำคัญของ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้
ทั้งนี้ การสอบเป็นบริการของรัฐให้แก่นักเรียนทุกคน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

A–NET (Advanced National Educational Test)
คือ แบบสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง เป็นการวัดความรู้และ ความคิดวิเคราะห์ ซึ่งจะเป็นการวัดความรู้เชิง วิเคราะห์ โดยเน้นทักษะการคิดมากกว่า O-NET ประกอบด้วย
1 ภาษาไทย 2
2 คณิตศาสตร์ 2
3 วิทยาศาสตร์ 2
4 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 2
5 ภาษาอังกฤษ 2

ลักษณะข้อสอบและการประเมินผล A – NET ประกอบด้วย
1. แบบทดสอบจะมีทั้งปรนัย และอัตนัย ในอัตราส่วนระหว่าง 60% – 80% : 40% – 20% ข้อสอบแบบปรนัยจะเป็นข้อสอบแบบ 4 ตัวเลือก สำหรับข้อสอบอัตนัยจะเป็นข้อสอบแบบเขียนคำตอบสั้นๆ (Short Answer)
2. เวลาในการทำข้อสอบวิชาละ 2 ชั่วโมง ยกเว้นวิชาวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยเนื้อหาด้าน เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา อยู่ในฉบับเดียวกัน ที่ใช้เวลาในการสอบ 3 ชั่วโมง และจะแสดงผลการทดสอบทั้งรวมและแยก
3.ข้อสอบแต่ละข้อ คะแนนอาจจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความยากง่ายของข้อสอบ