มารี กูรี

Home / Google News / มารี กูรี

Marie Curie

Marie Curie

มารี กูรี (Marie Curie) วันที่เกิด 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1867 วอร์ซอ, จักรวรรดิรัสเซีย ซึ่งในขณะนั้นปกครองประเทศโปแลนด์ Marie Curie เป็นนักเคมี และเป็นผู้ค้นพบรังสีเรเดียม ที่ใช้ยับยั้งการขยายตัวของมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคร้ายที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่มีอัตราการตายของคนไข้เป็นอันดับหนึ่งมาทุกยุคสมัย ด้วยผลงานที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติเหล่านี้ ทำให้ Marie Curie ได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้ง คือ
– รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ค.ศ. 1903 จากผลงานการพบธาตุเรเดียม
– รางวัลโนเบลสาขาเคมี ค.ศ. 1911 จากผลงานการค้นคว้าหาประโยชน์จากธาตุเรเดียม
ถือว่าเป็นคนแรกที่ได้รับ รางวัลโนเบล ใน สองสาขาด้านวิทยาศาสตร์ และเป็นภรรยาของ ปิแอร์ กูรี, และเป็นแม่ของ Irène Joliot-Curie and Ève Curie

 

Marie Curie

โดยบิดาของ Marie Curie เป็นครูสอนวิทยาศาสตร์ และมักพาเธอมาที่ห้องทดลองเสมอ จึงทำให้เธอสนใจวิชาด้านวิทยาศาสตร์ตั้งแต่เด็ก ในสมัยนั้นค่านิยมในสังคมของผู้หญิงส่วนใหญ่ จะต้องเรียนการเป็นแม่บ้าน ซึ่ง Marie Curie แตกต่างโดยสิ้นเชิง ที่ใส่ใจค้นคว้าทางด้านวิทยาศาสตร์

ในปี ค.ศ. 1902 เธอก็สามารถสกัดแร่เรเดียมให้บริสุทธิ์ได้ เรียกว่า “เรเดียมคลอไรด์” ที่สามารถแผ่รังสีได้มากกว่ายูเรเนียมถึง 2,000,000 เท่า มีคุณสมบัติคือ ให้แสงสว่าง และความร้อนได้ และเมื่อแร่นี้แผ่รังสีไปถูกวัตถุอื่น วัตถุนั้นจะเปลี่ยนสภาพเป็นธาตุกัมมันตรังสี และสามารถแผ่รังสีได้เช่นเดียวกันกับแร่เรเดียม

Marie Curie

การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับแร่เรเดียมอย่างหนัก และต่อเนื่องกว่า 4 ปี แม้สามีจะเสียชีวิตก็ตาม ด้วยกำลังใจอันล้นเปี่ยม เมื่อเกิดภาวะสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งผู้คนส่วนมากล้มตายและถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร เธอจึงอาสาสมัครเป็นอาสากาชาดเพื่อช่วยทหารที่บาดเจ็บ ในการเอกซเรย์เคลื่อนที่ตระเวนรักษาตามหน่วยต่างๆ จนสงครามสงบเธอก็กลับมาทำงาน แต่ก็ต้องล้มป่วยเพราะผลมาจากการทำงานหนัก และโดนรังสีเรเดียม ทำให้ไขกระดูกถูกทำลายและเสียชีวิตในเวลาต่อมา เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1934 อายุ 66 ปี

 

 

ขอบคุณข้อมุล Marie Curie : (http://en.wikipedia.org/wiki/Marie_Curie)