ประวัติ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ ป.ธ.๙)

Home / กระแสข่าววันนี้ / ประวัติ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ ป.ธ.๙)

สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) หรือ นามเดิม ช่วง สุดประเสริฐ ดำรงตำแหน่เป็นประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช กรรมการมหาเถรสมาคม, แม่กองงานพระธรรมทูต, ประธานคณะพระธรรมจาริก, และเจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ (พระอารามหลวง) อีกทั้งสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดฯ สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระราชาคณะ ชั้น สุพรรณบัฏ เมื่อปี พ.ศ. 2538 มีนามตามจารึกว่า สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ไพศาลหิตานุหิตวิธาน ปฏิภาณสุธรรมภาณี ศรีสังฆโสภณ วิมลศีลาจารย์นิวิฐ ตรีปิฏกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี

สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์

ชาติภูมิ

เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เกิดเมื่อวันพุธ ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2468 ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 10 ปีฉลู บ้านเลขที่ 32 ตำบลราชเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เป็นบุตรของนายมิ่งและ นางสำเภา สุดประเสริฐ มีพี่น้องร่วมกัน 4 คน

สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์                   สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์

สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์

บรรพชาและ อุปสมบท

  • เมื่ออายุได้ 14 ปี พระคุณเจ้าสมเด็จได้บรรพชา เมื่อวันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 ณ วัดสังฆราชา เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร โดยมี พระครูศีลาภิรัต (ทอง) เป็นพระอุปัชฌาย์
  • ต่อมาได้อุปสมบท เมื่อวันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ณ พัทธสีมาวัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร นามฉายา “วรุปุญฺโญ” โดยมีพระครูบริหารบรมธาตุ (ป่วน เกสโร) วัดนางชี เป็นพระอุปัชฌาย์

วิทยฐานะ (การศึกษา)

  • พ.ศ. 2480 สำเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 โรงเรียนประชาบาล วัดสังฆราชา เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
  • พ.ศ. 2484 นักธรรมชั้นโท วัดสังฆราชา เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
  • พ.ศ. 2490 นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพ-มหานคร
  • พ.ศ. 2492 เปรียญธรรม 7 ประโยค สำนักเรียนวัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
  • พ.ศ. 2497 เปรียญธรรม 9 ประโยค สำนักเรียนวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

สมณศักดิ์

  • พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระศรีวิสุทธิโมลี
  • พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชเวที
  • พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพวรเวที
  • พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมธีรราชมหามุนี
  • พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นหิรัณยบัฏ ที่ พระธรรมปัญญาบดี
  • พ.ศ.๒๕๓๘ ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรบัฏที่สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์

เกียรติคุณ

  • พ.ศ. 2532 ได้รับถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2543 ได้รับถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัย ประเทศศรีลังกา
  • พ.ศ. 2546 ได้รับถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากสังฆสภาอินเดีย ประเทศอินเดีย
  • พ.ศ. 2551 ได้รับถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยมหา มหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้รับถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาภาษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์

งานปกครอง

  • พ.ศ. 2495 เป็นเลขานุการสังฆนายก ของสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
  • พ.ศ. 2499 เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ (พระอารามหลวง)
  • พ.ศ. 2500 เป็นพระอุปัชฌาย์
  • พ.ศ. 2507 เป็นรองเจ้าคณะภาค 3
  • พ.ศ. 2508 เป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ (พระอารามหลวง)
  • พ.ศ. 2508-2516 เป็นเจ้าคณะภาค 3 รวม 2 สมัย
  • พ.ศ. 2517-2528 เป็นเจ้าคณะภาค 17 รวม 3 สมัย
  • พ.ศ. 2528-2537 เป็นเจ้าคณะภาค 7
  • พ.ศ. 2532-ปัจจุบัน เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม
  • พ.ศ. 2533-2548 เป็นกรรมการ พ.ศ.ป.
  • พ.ศ. 2533-ปัจจุบัน เป็นกรรมการ ศ.ต.ภ.
  • พ.ศ. 2537-ปัจจุบัน เป็นเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ
  • พ.ศ. 2548 เป็นคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชฯ
  • พ.ศ. 2556 เป็นประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสัฆราช

ทั้งนี้จากข่าวการเสด็จสู่พระนิพพานของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมา ทางผู้อำนวยการสำนีกงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้เสนอชื่อ ประวัติ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ ป.ธ.๙) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ใหม่นั้นเอง