พรรคการเมืองใหม่

Home / กระแสข่าววันนี้ / พรรคการเมืองใหม่
พรรคการเมืองใหม่
พรรคการเมืองใหม่

พรรคการเมืองใหม่ (New Politics Party)

เป็นพรรคที่ก่อตั้งโดยแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เปิดตัวเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2552 และจดทะเบียนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2552 ใช้ตัวย่อว่า ก.ม.ม. (N.P.S.P.)[1]

สีประจำ พรรคการเมืองใหม่ คือ สีเหลือง-เขียว สีเหลือง เพื่อเชิดชูสถาบันกษัตริย์ และประชาธิปไตย สีเขียวหมายถึงการเมืองต้องไร้ซึ่งมลพิษ

ที่มา

ข้อเขียนของคำนูญ
งานประชุมที่สนามกีฬาธรรมศาสตร์

ชื่อพรรค

ชื่อที่ถูกเสนอขึ้นมามี 3 ชื่อ ได้แก่

* พรรคเทียนแห่งธรรม
* พรรคพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
* พรรคการเมืองใหม่

ในที่ประชุมก่อตั้งพรรคเห็นว่า ชื่อพรรคเทียนแห่งธรรมยังไม่ได้บอกนัยที่ชัดเจนมากนัก ส่วนชื่อพรรคพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ส่วนหนึ่งเห็นว่าอาจไปทับซ้อนกับการเคลื่อนไหวของการเมืองภาคประชาชน และควรที่จะคงไว้ในส่วนของภาคประชาชนมากกว่า สุดท้ายเลือก พรรคการเมืองใหม่ โดยมีเหตุผลว่า ชื่อพรรคการเมืองใหม่ มีนัยที่แสดงถึงการต่อสู้ที่ต้องการจะให้เกิดการเมืองใหม่ ที่มีพลังบริสุทธิ์ และเป็นพลังที่ต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงการเมืองแบบเก่าไปสู่สิ่งที่ดีกว่า

เป้าหมาย-นโยบายของพรรค

นโยบายพรรค

นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ กล่าวว่า

“มีการแถลงนโยบายท่าทีเรื่องการต่อต้านทุจริตคอรัปชั่นและเรื่องพลังงาน เช่น กรณี ปตท. ส่งออกก๊าชแอลพีจี ได้กำไร 8 พันล้าน แต่เงินเข้ารัฐเพียง 51% ที่เหลือ 49% เป็นของผู้ถือหุ้น ขณะที่ในบ้านเราต้องใช้ก๊าซในราคาแพง ถ้าหากพรรคได้เป็นรัฐบาลจะไม่ดำเนินการเช่นนี้ เช่นเดียวกับรถเมล์ 4,000 คัน หากเป็นรัฐบาลจะประกาศชัดเจนเลยว่า ไม่เอาโครงการนี้” (2 มิ.ย. 2552)

พรรคการเมืองใหม่
พรรคการเมืองใหม่

นายสมศักดิ์ โกศัยสุข กล่าวว่า

“เราส่งเสริมให้คนดีที่มีประวัติศาสตร์ตรวจสอบได้มาเป็นผู้ปกครองเรา เพราะว่าบ้านเมืองทุกวันนี้มันมีปัญหาเรื่องการคอร์รัปชัน จุดขายของเราก็คือว่า ผู้ที่เข้ามาทำงานตรงนี้จะต้องมีประวัติศาสตร์ นอกจากจะไม่คอร์รัปชั่นแล้ว จะต้องเป็นคนที่เกลียดคอร์รัปชัน และต่อต้านการคอร์รัปชัน และจะต้องมีการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ และรักษาชาติ ศาสนา และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นอกจากนั้น เราก็จะให้พี่น้องประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางตรงให้มากในการตรวจสอบการ ตัดสินใจในการดำเนินการในด้านปัญหาเศรษฐกิจ ในด้านสิ่งแวดล้อม อะไรก็ตามที่กระทบกับประชาชน คือให้เป็นไปตามเจตจำนงในการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างจริงจัง และที่สำคัญก็คือ จะต้องทำให้ประชาชนทั้งประเทศได้รับองค์ความรู้ด้านข้อมูลข่าวสารได้อย่าง ทั่วถึง เท่าเทียม เสมอภาค รวมทั้งการกระจายรายได้และผลประโยชน์ที่เป็นทรัพยากร และที่ผลิตได้ ให้กับสังคมอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม นี่คือเป้าหมาย ทิศทางที่จะนำให้เห็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นการเมืองใหม่อย่างไร ไม่ใช่แบบเก่าๆ อย่างแน่นอน ฉะนั้นอยากให้ประชาชนได้เปรียบเทียบได้ว่าจุดยืนของเราเรื่องการทุจริต การคอร์รัปชั่น เราจะต้องจัดการอย่างเด็ดขาด และให้คนยอมรับเคารพตามกฎหมาย” (2 มิ.ย. 2552)

สุริยะใส เลขาฯ
สุริยะใส เลขาฯ

การคัดเลือกผู้สมัคร ส.ส.

นายสมศักดิ์ โกศัยสุข หัวหน้าพรรค กล่าวว่า “ประชาชนในพื้นที่จะต้องเป็นผู้เสนอว่าเขาควรจะเอาใครลงไป” (2 มิ.ย. 2552)
ความสัมพันธ์กับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังเป็นองค์กรสูงสุดเหนือพรรคการเมือง ใหม่ พรรคการเมืองที่ตั้งมาครั้งนี้เป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้ทำงานในทางการเมือง วันใดก็ตามที่พรรค ก.ม.ม. เริ่มเพี้ยนไปจากอุดมการณ์ พันธมิตรฯ ก็จะเริ่มถอยห่าง สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า ภาคประชาชนยังคงมีบทบาทควบคุมกติกาคนที่เข้ามาเล่นการเมือง’ นายสนธิกล่าว

สมศักดิ์ หัวหน้าพรรค
สมศักดิ์ หัวหน้าพรรค

นายสมศักดิ์ โกศัยสุข หัวหน้าพรรค ตอบคำถามเรื่องความสัมพันธ์กับ ASTV ว่า

“คิดว่าคงคนละส่วนกัน คงจะไม่เกี่ยวข้องกัน สื่อก็ว่าไปเรื่องของสื่อ อิสรภาพของสื่อก็ว่าไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ คงจะไม่ไปเกี่ยวข้องกัน แต่สื่อก็มีอิสระในการที่จะเสนออะไรเป็นความจริง อะไรไม่จริง ซึ่งการเมืองก็ต้องเดินไปตามกฎเกณฑ์การเมือง คงไม่ได้เป็นส่วนเกี่ยวข้องกันอย่างแน่นอน” (2 มิ.ย. 2552)

ความคิดเห็นในการตั้งพรรคการเมืองของพันธมิตรฯ

นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ กล่าวว่า “การตั้งพรรคของกลุ่มพันธมิตรฯ ถือเป็นมิติใหม่ในทางประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ควรจะดีใจ แสดงให้เห็นว่า สีเหลืองคือ พรรค ก.ม.ม. สีแดง มีพรรคเพื่อไทยอยู่แล้ว และจะเป็นจุดเริ่มต้นให้พรรคการเมืองในปัจจุบันให้ไปปรับเปลี่ยนตัวเอง การตั้งพรรค ก.ม.ม.ได้ทำอย่างโปร่งใส จะเห็นได้ว่ามีผู้หญิงเข้ามาร่วมมากกว่าผู้ชาย ไม่ได้เอาญาติพี่น้อง หรือ พรรคพวกมานั่งเป็นกรรมการบริหารพรรคเหมือนพรรคการเมืองในปัจจุบัน”

เปลว สีเงิน คอลัมนิสต์ของหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ได้เขียนสนับสนุนการตั้งพรรคการเมืองใหม่ ในคอลัมน์ “เขียนแผ่นดิน” ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 27 พฤษภาคม 2552 ว่าชอบชื่อ พรรคการเมืองใหม่ มากกว่า “พรรคพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย”

รักษาชื่อ “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ไว้เป็นสมบัติกลางทางจิตวิญญาณเสรีแห่งมวลชนผู้มีท้องถนนเป็นพื้นที่ ลาดตระเวนเพื่อการพิทักษ์ชาติ พระศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์เถิด และผมเชื่อ ยังมีพันธมิตรฯ บางส่วนยินดีเป็นพันธมิตรฯ ในถนน มากกว่ายินดีเป็นพรรคพันธมิตรฯ ในสภาฯ

ก็เผื่อว่า….สักวันพรรคที่พันธมิตรฯ ตั้งขึ้น โตแล้วแตกลายกลายเป็นอื่น? “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ในถนน จะได้ออกมาทำหน้าที่ “ฆ่ามันทิ้งไป” ให้สะใจคามือของผู้ให้กำเนิดมากะมือไงล่ะ!?

รายชื่อคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่ ดังต่อไปนี้

1. นายสมศักดิ์ โกศัยสุข หัวหน้าพรรค
2. นางภินันทน์ โชติรสเศรณ รองหัวหน้าพรรค
3. นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการพรรค
4. นายพิชิต ไชยมงคล รองเลขาธิการพรรค
5. นางภาณุมาศ พรหมสูตร นายทะเบียนสมาชิกพรรค
6. พล.ร.ท.ประทีป ชื่นอารมณ โฆษกพรรค

7.นางลักขณา ดิษยะศริน กรรมการและเหรัญญิกพรรค
8. นายสุทธิ อัชฌาศัย กรรมการบริหารพรรค
9. นางชญาบุญ เพชรพรหม กรรมการบริหารพรรค
10. น.ส.นิตายา กุระคาน กรรมการบริหารพรรค
11. น.ส.อาภารัตน์ ชาติชุติกำจร กรรมการบริหารพรรค
12. น.ส.ฉัตรกุล คำมีอ่อน กรรมการบริหารพรรค
13. น.ส.จีรนันท์ อินทร์สุริวงศ กรรมการบริหารพรรค
14. นายบรรจง นะแส กรรมการบริหารพรรค
15. นางชญาดา ศริญญามาศ กรรมการบริหารพรรค
16. นายวิลิต เตชะไพบูลย กรรมการบริหารพรรค
17. นายสมศักดิ์ อิสมันย กรรมการบริหารพรรค
18. นางเสาวนีย์ รุ่งช่วง กรรมการบริหารพรรค
19. น.ส.พรชุลี คงขวัญ กรรมการบริหารพรรค
20. นางเพลินพิศ ทองวล กรรมการบริหารพรรค
21. นางเสน่ห์ หงส์ทอง กรรมการบริหารพรรค
22. นางกาญจนา กาญจนเสว กรรมการบริหารพรรค

ที่มาจาก

http://politicalbase.in.th/index.php/พรรคการเมืองใหม่