ประวัติ สุเทพ เทือกสุบรรณ์ พรรคประชาธิปัตย์

Home / สกูปอื่นๆ / ประวัติ สุเทพ เทือกสุบรรณ์ พรรคประชาธิปัตย์

ประวัติ สุเทพ เทือกสุบรรณ หรือ เทพเทือก สุบรรณ

สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีต ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ เชื่อได้ว่าทุกวันนี้ ไม่มีใครไม่รู้จัก สุเทพ เทือกสุบรรณ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันสั้นๆ ว่า เทพเทือก ที่วันนี้ (27 พฤศจิกายน 2556) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ได้ลาออกจากตำแหน่ง ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ เพื่อเป็นแกนนำในการต่อต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และโค่นระบอบทักษิณ ภายใต้การบริหารราชการของสมัยรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ด้วยเหตุนี้ ทางสกู๊ปเอ็มไทย จึงนำประวัติ สุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้ที่มีประวัติและ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการเมืองมายาวนานอีกคนหนึ่ง มาให้รู้จักกันครับ

สุเทพ เทือกสุบรรณ
สุเทพ เทือกสุบรรณ

ประวัติ สุเทพ เทือกสุบรรณ

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เกิดเมื่อวันที่ 7 กรกฏาคม พ.ศ. 2492 เป็นบุตรของนายจรัสและ นางละม้าย เทือกสุบรรณ ซึ่ง นายจรัส เทือกสุบรรณ เป็นกำนันตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัด สุราษฏร์ธานี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ มีพี่น้องร่วมกัน 6 คน  คือ นายสุเทพ นางศิริรัตน์และนางรัชนี (ฝาแฝด) นายเชน นางจิราภรณ์ นายธานี และนางกิ่งกาญจน์ เทือกสุบรรณ ตามลำดับ

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศิลปาศาสตร์บัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2515 และระดับปริญญาโท M.A. Political Sciences จาก Middle Tennesse State University จากประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2518 โดยภายหลังสำเร็จการศึกษา นายสุเทพ เทือกสุบรรณได้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นกำนันตำบลบ่าสะท้อน ต่อจากกำนันจรัส ผู้เป็นบิดา ทำให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ได้เป็นกำนันครั้งแรก โดยมีอายุเพียง 26 ปีเท่านั้น

ปัจจุบัน นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ได้สมรสกับ นางศรีสกุล พร้อมพันธุ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจังหวัดนครราชสีมา โดยมีบุตรร่วมกัน 3 คน ได้แก่ นายแทน เทือกสุบรรณ, น.ส.น้ำตาล เทือกสุบรรณและ น.ส.น้ำทิพย์ เทือกสุบรรณ

สุเทพ เทือกสุบรรณ กับการเมืองระดับประเทศ

ภายหลังที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณได้เป็นกำนันตำบลท่าสะท้อน ก็ได้ตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร จังหวัดสุราษฏร์ธานี โดยเป็น ส.ส.ในพรรคประชาธิปิตย์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2522 จนถึงวันนี้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ได้คะแนนเสียงและ ความไว้วางใจให้ได้รับเลือกเป็น ส.ส. ติดต่อกันมากว่า 10 สมัยติดต่อกัน

ประวัติการดำรงตำแหน่งทางการเมือง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ

  • เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี 10 สมัย
  • เป็น ส.ส. บัญชีรายชื่อ 2 สมัย (พ.ศ. 2544 และ 2548)
  • เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายชวน หลีกภัย) พ.ศ. 2524
  • เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายชวน หลีกภัย) พ.ศ. 2524-2526
  • เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายบัญญัติ บรรทัดฐาน) พ.ศ. 2526-2529
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2529-2531
  • ประธานคณะกรรมาธิการการเกษตร พ.ศ. 2531
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2535-2537
  • ประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม พ.ศ. 2539
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2540-2543
  • กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2546-2548
  • เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน
  • ประธานคณะกรรมการนโยบายน้ำมันปาล์มแห่งชาติ พ.ศ. 2553-2554
  • ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2551-2554
  • ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2553
  • ประธานคณะกรรมการนโยบายยางแห่งชาติ พ.ศ. 2553-2554
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเงา พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2554
  • รองนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2551-2554
สุเทพ เทือกสุบรรณ
สุเทพ เทือกสุบรรณ และ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ กับบทบาทในพรรคประชาธิปิตย์

นาย สุเทพ เทือกสุบรรณ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในพรรคประชาธิปิตย์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 ด้วยการดำรงตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรค และต่อมาได้เป็นกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์และ เลขาธิกาพรรคในปี พ.ศ. 2548 ซึ่งในสมัยนั้น ได้มีการปรับโครงสร้างพรรคประชาธิปิตย์ ให้เป็นคนรุ่นใหม่ เช่น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพื่อต่อสู้กับพรรคคู่แข่งตลอดกาล อย่างพรรคไทยรักไทย ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในสมัยนั้น

บทบาทสำคัญในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ภายหลังการเลือกตั้งใหญ่ พ.ศ. 2551 ประเทศไทยได้เปลี่ยนนายกรัฐมนตรี ถึง 2 รอบ ในไม่กี่เดือน ได้แก่ นายสมัคร สุนทรเวช และ นาชสมชาย วงศ์สวัสดิ์ จากพรรคพลังประชาชน โดยหลังพรรค พลังประชาชนถูกตัดสินยุบพรรคในเดือนธันวาคม 2551 ทำให้การเมืองไทยเกิดภาวะสุญญากาศ นายสุเทพ ก็เป็นผู้ประสานงานดึงพรรคร่วมรัฐบาลของพรรคพลังประชาชนอย่างพรรคชาติไทย พัฒนาและพรรคภูมิใจไทยมาร่วมรัฐบาลกับพรรคประชาธิปัตย์เป็นผลสำเร็จ โดยที่นายสุเทพ ก็ดำรงตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง

บทบาท นายสุเทพ เทือกสุบรรณ การเป็นแกนนำคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม

ภายหลังการยุบรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ใน พ.ศ. 2554 และได้มีการเลือกตั้งใหม่ ผลปรากฎ พรรคเพื่อไทย ได้ชนะการเลือกตั้งได้เป็นฝ่ายจัดตั้งรัฐบาล ผลักให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้าน ซึ่งรัฐบาลได้บริหารราชการแผ่นดินไปได้ 2 ปี (พ.ศ. 2556) สถานการณ์การเมืองได้ครุกกรุ่นเรื่อยๆ จนมาถึงกฎหมาย พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่ทำให้ประชาชนออกมาต่อต้านรัฐบาล อีกทั้งยังไม่พอใจกับนโยบายการบริหารของรัฐบาล ที่ทำให้เกิดภาวะขาดทุนทางการคลังต่างๆ เช่น โครงการกู้ 2.2 ล้านล้านบาท, โครงการรับจำนำข้าว เป็นต้น

ต่อมาเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556 กลุ่มต่อต้านรัฐบาลได้ออกมาร่วมตัวกัน เนื่องจากรัฐบาลได้แก้ไขเนื้อหา พ.ร.บ.นิรโทษกรรม จากที่นิรโทษกรรมแก่ประชาชน กลายเป็นนิรโทษกรรมแกนนำและ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในคดีทุจริตต่างๆ ส่งผลให้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประกาศจัดชุมนุมต่อต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ณ สถานีรถไฟสามเสน

ต่อมาในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในฐานะแกนนำผู้ชุมนุม ได้เคลื่อนพลจาก สถานีรถไฟสามเสน มาที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พร้อมคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม อย่างเต็มที่ จนทำให้รัฐบาลถอนถอด พ.ร.บ.นิรโทษกรรม วาระ 2และ 3 ออกตามคำเรียกร้องของผู้ัคดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม

วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ร่วมกับ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ อีก 8 คน ได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่ง ส.ส. เพื่อร่วมเป็นแกนนำต่อต้านอย่างเต็มรูปแบบ โดยเบี่ยงเข็มไปทางการโค่นระบอบทักษิณ ภายใต้การบริหารรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

อ่าน ม็อบราชดำเนิน เพิ่มเติม คลิก

และนี้เอง เป็นเพียงประวัติเล็กๆ น้อยๆ ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ บนเส้นทางสายการเมือง โดยล่าสุดนี้ ม็อบราชดำเดิน ภายใต้แกนนำ สุเทพ เทือกสุบรรณ ยังคงต่อต้านทุกวิถีทาง เพื่อกดดันให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ยุบสภา ผลของการชุมนุมจะเป็นเช่นไร เร็วๆ นี้น่าจะมีคำตอบแน่นอน…