วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม ของทุกปี

Home / วันสำคัญ / วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม ของทุกปี

ประวัติวันแรงงาน

วันนี้ Google ได้เปลี่ยน Doodie ด้วยให้เป็นสัญลักษณ์ของวันแรงงานแห่งชาติ ซึ่งแน่นอนว่า ภาพต่างๆ นั้นแสดงให้ถึงแรงงานรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ คนติดดิน ที่ทำงานสวน มาถึงคนทำงานออฟฟิต และไปสู่แรงงานขั้นสูงนั้น คือทางอากาศ ซึ่งแต่ละงานก็มีึความสำคัญแตกต่างกันไป ที่นี้เรามาดูกันดีกว่าว่า วันแรงงาน มีความสำคัญอย่างไรกันบ้าง

วันแรงงาน

แรงงานคือพลังการผลิต นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดผลผลิตในระบบเศรษฐกิจ ดังนั้นเพื่อเป็นการยกย่อง และชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของแรงงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งในคุณภาพ ความเป็นอยู่ตลอดจนสิทธิอันชอบธรรมที่ผู้ใช้แรงงานสมควร จะได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่าง จริงจัง รัฐบาลจึงได้กำหนดให้ วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น ” วันแรงงานแห่งชาติ ” ตามที่คณะพรรคสังคมนิยมระหว่างชาติได้กำหนดไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2432

วันแรงงาน 2555

วันแรงงานแห่งชาติ

ความเป็นมา วันแรงงานแห่งชาติ

พ.ศ. 2477 ได้มีการจัดตั้งกองกรรมกรขึ้น เพื่อทำหน้าที่ด้านการจัดหางาน และศึกษาภาวะความเป็นอยู่ของคนงานทั่วไป ในปี พ.ศ. 2499 รัฐบาลได้ มีการขยายกิจการด้านแรงงานสัมพันธ์มากขึ้น และประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับแรกในปี พ.ศ. 2508 และในปีเดียวกันนั้นได้มีการจัดตั้งกรมแรงงานขึ้น อีกทั้งประกาศใช้ พระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน ปัจจุบัน การบริหารแรงงานอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคมมีงาน สำคัญเกี่ยวข้องกับแรงงานดังนี้

วันแรงงานแห่งชาติ

1 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น “วันแรงงานแห่งชาติ

1. การจัดหางาน
ด้วยการช่วยเหลือคนว่างงานให้มีงานทำ ช่วยเหลือนายจ้างให้ได้คนมีคุณภาพดีไปทำงาน รวบรวมเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับการทำงาน แหล่งงาน ภาวะตลาดแรงงาน

2. งานแนะแนวอาชีพ
ให้คำปรึกษาแก่เยาวชนและผู้ประสงค์จะทำงาน เพื่อให้สามารถเลือกแนวทางประกอบอาชีพที่เหมาะสมตามความถนัด ความ สามารถทางร่างกาย คุณสมบัติ บุคลิกภาพและความเหมาะสมแก่ความต้องการทางเศรษฐกิจ

3. การพัฒนาแรงงาน
ส่งเสริมพัฒนาฝีมือแก่คนงาน และเยาวชนที่ไม่มีโอกาสศึกษาต่อโดยการฝึกแบบเร่งรัด

4. งานคุ้มครองแรงงาน
วางหลักการและวิธีการเกี่ยวกับชั่วโมงทำงาน วันหยุดงาน ตลอดจนการจัดให้มีสวัสดิการต่างๆ

5. งานแรงงานสัมพันธ์
ทำการส่งเสริมและสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้ ทั้งสองฝ่ายเข้าใจถึงลักษณะและสภาพของปัญหา ตลอดจน วิธีการที่เหมาะสมที่จะช่วยขจัดความเข้าใจผิดและข้อขัดแย้งอื่นๆ

 

 

ที่มา คลังปัญญาไทย
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต