วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ 1 กรกฏาคม

Home / วันสำคัญ / วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ 1 กรกฏาคม

ประวัติวันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ

วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติตรงกับวันที่ 1 กรกฏาคมของทุกปี ถือเป็นอีกวันสำคัญวันหนึ่ง ซึ่งเป็นวันสำคัญต่อชาวลูกเสือไทยทั่วประเทศ เพราะเป็นวันคล้ายวันสถาปนาลูกเสือแห่งชาตินั้นเอง วันนี้สกู๊ปเอ็มไทย จึงจะมาแนะนำให้ความรู้ ถึงประวัติและความสำคัญของวันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติกันครับ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประวัติลูกเสือโลก
ต้องย้อนกลับไปถึงการก่อตั้งลูกเสือโลกในยุคแรกๆ โดยมี ลอร์ดบาเดน เพาเวลล์ (B.P) เป็นผู้ก่อตั้งกิจการลูกเสือรั้งแรก ที่ประเทศอังกฤษในปี พ.ศ. 2450 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ไว้รองรับความสามารถในการเป็นทหาร ฝึกให้คนที่เข้ารับการเป็นลูกเสือโลกบำเพ็ยประโยชน์เพื่อสังคมและส่วนรวม หลังจากนั้นกิจการลูกเสือจึงได้แพร่ขยายออกไปมากขึ้น จนกระทั่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ก่อตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นเป็นประเทศที่ 2 รองจากประเทศอังกฤษนั้นเอง

ลอร์ดบาเดน เพาเวลล์ (B.P)
ลอร์ดบาเดน เพาเวลล์ (B.P)

ต่อมา ลอร์ดบาเดน เพาเวลล์ ได้แต่งหนังสือฝึกอบรมลูกเสือขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์ต่อการเรียนการสอน โดยมีชื่อหนังสือว่า “Scouting For Boys” โดยเน้นหนักไปที่คำว่า Scout ซึ่งใช้เรียกแทนตัว ลูกเสือ โดยมีความหมายคือ
S : Sincerity หมายถึง ความจริงใจ มีน้ำใสใจจริงต่อกัน
C : Courtesy หมายถึง ความสุภาพอ่อนโยน เป็นผู้มีมารยาทดี
O : Obedience หมายถึง การเชื่อฟัง อ่อนน้อมถ่อมตน อยู่ในโอวาท
U : Unity หมายถึง ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน รู้รักสามัคคี
T : Thrifty หมายถึง ความมัธยัสถ์ ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด

 

วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ
วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ

 

ประวัติกิจการลูกเสือในประเทศไทย
ในประเทศไทยของเราได้มีการนำกิจการลูกเสือเข้ามาเมื่อสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โดยทรงมีพระบรมราชองค์การโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากองลูกเสือป่าขึ้น ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 เพื่อฝึกอบรมข้าราชการพลเรือน ให้เรียนรู้วิชาการด้านการทหาร ไว้สำรองยามเกิดศึกสงคราม และช่วยบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม อีกทั้งยังมีไว้ช่วยปราบปรามโจรผู้ร้าย ยามจำเป็น พระองค์ทรงมองเห็นว่ากองกิจการลูกเสือนั้นจะช่วยให้คนไทยรักชาติ มีมนุษยธรรม มีความเสียสละ สามัคคีและมีความกตัญญู

จนต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว มองเห็นถึงความมั่นคงของกิจการลูกเสือ จึงได้มีพระบรมราชโองการจัดตั้งกองลูกเสือขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่ 3 ของโลก ที่มีการจัดตั้งกองลูกเสือโลกขึ้น โดยลูกเสือไทยคนแรกนั้นชื่อ “นายชัพพ์ บุนนาค”

ลูกเสือกองแรกของประเทศไทย
หลังจากได้มีการประกาศเป็นกองลูกเสือโลก เป็นประเทศที่ 3 แล้ว ได้มีการตั้งลูกเสือกองแรกของประเทศไทย ในโรงเรียนมหาดเล็กหลวง เรียกกองลูกเสือนั้นว่า “ลูกเสือกรุงเทพฯ ที่ 1” ก่อนที่จะขยายตัวไปยังโรงเรียนและสถานที่ต่างๆ  และองค์รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชทานคติพจน์เพื่อใช้ในการประจำการของลูกเสือว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์”

ในสมัยนั้นกิจการลูกเสือไทยเป็นที่เลื้องลือไปยังนานาชาติถึง “พระเจ้าแผ่นดินสยามทรงใฝ่พระทัยในกิจการลูกเสือ” ถึงกับกองลูกเสือทื่ 8 ของประเทศอังกฤษ ได้มีหนังสือขอพระราชทานนามลูกเสือกองนี้ว่า “กองลูกเสือในพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยาม” ซึ่งพระองค์ได้ทรงพระราชทานให้ตามความประสงค์ และลูกเสือกองนี้ยังได้ติดเครื่องหมายช้างเผือกที่แขนเสือทั้งสองข้าง ตราบจนถึงปัจจุบันนี้

ประเภทลูกเสือ

ประเภทของลูกเสือไทย
– ลูกเสือสำรอง : อายุตั้งแต่ 7-10 ปี เทียบเท่าชั้นเรียน ป.1 – ป.4 โดยมีคติพจน์คือ ทำดีที่สุด
– ลูกเสือสามัญ : อายุตั้งแต่ 11-12 ปี เทียบเท่าชั้นเรียน ป.5 – ป.6 โดยมีคติพจน์คือ จงเตรียมพร้อม
– ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ : อายุตั้งแต่ 13-15 ปี เทียบเท่าชั้นเรียน ม.1 – ม.3 โดยมีคติพจน์คือ มองไกล
– ลูกเสือวิสามัญ : อายุตั้งแต่ 16 – 18 ปี เทียบชั้นเรียน ม.4 – ม.6 โดยมีคติพจน์คือ บริการ
– ลูกเสือชาวบ้าน : อายุตั้งแต่ 15 – 18 ปี มีคติพจน์คือ เสียชีพอย่าเสียสัตย์
สำหรับเนตรนารี จะมีรูปแบบประเภทเหมือนกัน แตกต่างกันที่ชื่อเรียก

คำปฏิญาณของลูกเสือ
          “ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า”
          ข้อ 1 ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
          ข้อ 2 ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ
           ข้อ 3 ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ

กฏของลูกเสือ 10 ข้อ ได้แก่
          ข้อ 1 ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้
          ข้อ 2 ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
          ข้อ 3 ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ
          ข้อ 4 ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสือทั่วโลก
          ข้อ 5 ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย
          ข้อ 6 ลูกเสือมีความเตตากรุณาต่อสัตว์
          ข้อ 7 ลูกเสือเชื่อฟังคำสั่งของบิดามารดาและผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพ
          ข้อ 8 ลูกเสือมีใจร่าเริงและไม่ย่อท้อต่อความลำบาก
          ข้อ 9 ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์
          ข้อ 10 ลูกเสือประพฤติชอบด้วย กาย วาจา ใจ

เพลงราชสดุดีลูกเสือ
ข้าลูกเสือเชื้อไทยใจเคารพ ขอน้อมนบบาทบงสุ์พระทรงศรี พระบาทมงกุฎเกล้าฯ จอมเมาลี ทรงปรานีก่อเกื้อลูกเสือมา ทรงอุตส่าห์อบรมบ่มนิสัย ให้มีใจรักชาติศาสนา ทรงสั่งสอนสรรพกิจวิทยา เป็นอาภาผ่องพุทธิ์วุฒิไกร ดังดวงจันทราทิตย์ประสิทธิ์แสง กระจ่างแจ้งแจ่มภพสบสมัย พระคุณนี้จะสถิตสนิทใน ดวงหทัยทวยราษฎร์ไม่คลาดเอย