วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 18 ส.ค. ประวัติวันวิทยาศาสตร์

18 สิงหาคม วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญของไทย และแน่นอนว่าเป็นวันสำคัญของวงการวิทยาศาสตร์และ ดาราศาสตร์ไทย ซึ่งกำหนดให้ทุกวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เพราะเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงได้ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง เมื่อ พ.ศ. 2411 นั่นเอง

ประวัติวันวิทยาศาสตร์

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินชลมาครและสถลมารค ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ที่ทรงคำนวณล่วงหน้าไว้ 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง โดยจะเห็นหมดดวงที่หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตรงเกาะจานไปถึงปราณบุรี ลงไปถึงจังหวัดชุมพร จึงได้โปรดเกล้าให้สร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ และนำคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศสเข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วย

รัชกาลที่ 4 ทรงฉายภาพร่วมกับคณะ ณ ค่ายหลวงหว้ากอ

และด้วยผลการคำนวณที่แม่นยำของรพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เซอร์แฮรี ออด จึงได้บันทึกเหตุการณ์ไว้ว่า “พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระสำราญมาก เพราะการคำนวณเวลาสุริยุปราคาของพระองค์ ได้พิสูจน์ว่าถูกถ้วนสมบูรณ์ที่สุด ยิ่งกว่าชาวยุโรปคำนวณไว้ได้เสียอีก
ต่อมา สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มีแนวคิดที่จะถือว่าวันที่ 18 สิงหาคม เป็นวิทยาศาสตร์ไทย ต่อมาจนวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี เป็น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” จนทุกวันนี้

วัตถุประสงค์ของการจัดวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

 

กิจกรรมวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

กิจกรรมในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

โดยทั่วไปในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ จะมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ และเป็นกิจกรรมเชิดชูดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล่าเจ้าอยู่หัว โดยส่วนมากจะมีกิจกรรมดังนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Copyright © 2016 MThai.com All rights reserved. หมายเลขทะเบียนการค้าอิเล็กทรอนิกส์ : 0127114707040