Heinrich Rudolf Hertz

Home / Google News / Heinrich Rudolf Hertz

Heinrich Hertz

เนื้อหา Heinrich Rudolf Hertz

 

Heinrich Rudolf Hertz

Heinrich Rudolf Hertz (ไฮน์ริช เฮิรตซ์) นักฟิสิกส์ และผู้คิดค้น คลื่นวิทยุ “Hertzian Wave”
ผู้โด่งดังชาวเยอรมัน เกิดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1857 ที่เมืองฮัมบูร์ก (Hamburg) เป็นบุตรของ Gustav Ferdinand Hertz บิดาของเขาเป็นนักกฎหมาย และ Anna Elisabeth Pfefferkorn ซึ่งเป็นบุตรสาวของแพทย์ในกองทัพ และ Heinrich Rudolf Hertz หรือ เฮิรตซ์ ได้เสียชีวิต ด้วยโรคโลหิตเป็นพิษเรื้อรัง เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1894 ที่เมืองบอนน์ (Bonn) ประเทศเยอรมัน (Germany) ด้วยอายุ 36 ปี

 

 


Heinrich Rudolf Hertz

 

ด้านการศึกษา

ขณะที่เขาเรียนอยู่ที่ University of Hamburg เขามีความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และทางด้านภาษา ทั้งอารบิกและสันสกฤต เขาเรียนวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ในประเทศเยอรมัน ในปี ค.ศ.1878 Heinrich Rudolf Hertz หรือที่รู้จักอีกชื่อว่า “เฮิรตซ์” เข้าศึกษาที่วิทยาลัยในเบอร์ลินซึ่งมี Helmholtz เป็นผู้สนับสนุน ต่อมาทำการวิจัยวิทยานิพนธ์เพื่อรับปริญญาเอก ปรากฏว่าได้คะแนนดี และเป็นที่น่าพอใจ เฮิรตซ์ จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยของ Helmholtz ช่วยวิจัยและค้นคว้าต่างๆ ซึ่งระหว่างนั้น James Clerk Maxwell ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ขึ้นมาแต่ยังไม่มีผู้ใดสามารถพิสูจน์ได้อย่างแน่ชัด จะกระทั่งในปี ค.ศ.1880 เฮิรตซ์ได้สำเร็จการศึกษาปริญญาเอก

 

ด้านการทำงาน

ในปี 1883 Heinrich Rudolf Hertz ได้เป็นอาจารย์สอนด้านทฤษฎีฟิสิกส์ ที่ University of Kiel และในปี ค.ศ.1885 รับตำแหน่งศาสตราจารย์ ที่ University of Karlsruhe และที่นี่ทำให้เขาค้นพบ “คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า” จนกระทั่งในปี ค.ศ.1887 เฮิรตซ์ ได้ออกแบบการทดลองแพร่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ คลื่นวิทยุ โดยใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ ความถี่สูง และสามารถวัดความยาวคลื่นและความถี่ได้ตรงตามการคำนวณด้วยสมการของ Maxwell ต่อมา ในปี ค.ศ.1888 เฮิรตซ์ ได้สร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในการทดลองขึ้นประกอบด้วย คอยล์ 2 ขด คือ ขดปฐมภูมิและทุติยภูมิ ให้จำนวนรอบของขดทุติยภูมิมากกว่าขดปฐมภูมิหลายเท่า ระหว่างขดทุติยภูมินั้น ให้ปลายของเส้นลวดทั้งสองห่างกันเล็กน้อย เมื่อเขาเปิด-ปิด วงจรในขดปฐมภูมิ พบว่า เกิดประกายไฟที่ช่องว่างของขดทุติยภูมิ และพบว่าลวดที่ทำเป็นรูปวงแหวนมีปลาย ทั้งสองห่างกันเล็กน้อยที่มุมห้อง เกิดประกายไฟด้วยสามารถมองเห็นได้ชัดเจนในที่มืด ดังนั้น เขาเลยตั้งชื่อว่า “Hertzian Wave” ซึ่งปัจจุบันคลื่นชนิดนี้ คือ “คลื่นวิทยุ” นั้นเอง

transverse electromagnetic wave

 

ด้านผลงาน

เขาได้เขียนหนังสือ Gesammelte Werke (ค.ศ.1885) และ Uber Die Beziehungen Swischen Lich Und Electricitat (ค.ศ.1890) ซึ่งเป็นภาษาเยอรมัน
ในปี ค.ศ.1930 สถาบัน IEC ได้ยกย่องเขา โดยนำชื่อ Hertz (Hz) ไปตั้งเป็นหน่วยของความถี่ในระบบ SI เป็นการวัดจำนวนครั้งที่เกิดขึ้นต่อหนึ่งหน่วยเวลา

Hertz schematic

– ขอบคุณข้อมูล : http://en.wikipedia.org/wiki/Heinrich_Hertz