ละมุน ยมะคุปต์

ครบรอบวันคล้ายวันเกิด 112 ปี ละมุน ยมะคุปต์

Home / Google News / ครบรอบวันคล้ายวันเกิด 112 ปี ละมุน ยมะคุปต์

วันนี้หลังจากเปิดหน้าแรก google ขึ้นมาเชื่อว่าหลายคนต้องให้ความสนใจกับการปรับเปลี่ยนโลโก้ google ซึ่งมีลวดลายไทยประดับอยู่สองฝั่งของโลโก้และมีนางรำสองคนกำลังร่ายรำด้วยท่ารำไทยต่างๆ คิดว่าหลายคนน่าจะเดาได้ไม่ยากว่าวันนี้จะต้องเป็นวันสำคัญเกี่ยวกับวงการนาฏศิลป์ไทยแน่ๆ ถูกต้องแล้ว.. เพราะวันนี้เป็น วันครบรอบวันคล้ายวันเกิด 112 ปี ละมุน ยมะคุปต์ ซึ่งท่านเป็นบุคคลสำคัญของวงการนาฏศิลป์ไทย หลายคนอาจจะยังไม่รู้จักท่าน วันนี้ SCOOP.MTHAI จึงนำประวัติของ คุณครู ละมุน ยมะคุปต์ มาฝากค่ะ

 

ครบรอบวันคล้ายวันเกิด 112 ปี ละมุน ยมะคุปต์

ครบรอบวันคล้ายวันเกิด 112 ปี ละมุน ยมะคุปต์

 

ประวัติครูละมุน ยมะคุปต์

ครูละมุน ยมะคุปต์ เกิดเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2448 ท่านเป็นชาวจังหวัดน่าน ครูละมุน ยมะคุปต์ เป็นธิดาของร้อยโทนายแพทย์จีน อัญชัญภาติกับนางคำมอย ซึ่งบิดาได้พาไปถวายตัวเป็นนางละคร ณ วังสวนกุหลาบ ท่านเริ่มฝึกหัดนาฏศิลป์ตั้งแต่อายุ 5 ขวบ และได้ย้ายไปศึกษาด้านละครใน ณ วังเพชรบูรณ์

 

ผลงานด้านการแสดงของครูละมุน ยมะคุปต์

ครูละมุน ยมะคุปต์ แสดงเป็นตัวเอกเกือบทุกเรื่อง เพราะมีฝีมือเป็นเยี่ยม บทบาทที่ท่านเคยแสดง เช่น พระสังข์ เขยเล็ก เจ้าเงาะ ฮเนา ซมพลา พระวิษณุกรรม พระอภัยมณี ศรีสุวรรณ สุดสาคร อุศเรน อิเหนา สียะตรา วิหยาสะกำ อุณรุท พระราม พระลอ พระมงกุฎ อินทรชิต พระนารายณ์ พระคเณศ สมิงพระราม พระไวย พลายบัว พระพันวษา เป็นต้น

 

ผลงานด้านการประดิษฐ์ท่ารำของครูละมุน ยมะคุปต์

ที่ประดิษฐ์ให้กรมศิลปากรในฐานะผู้เชี่ยวชาญ เช่น รำแม่บทใหญ่ รำซัดชาตรี รำวงมาตรฐาน รำเถิดเทิง รำกิ่งไม้เงินทอง ระบำกลอง ระบำฉิ่ง ระบำนกยูง ระบำกฤดาภินิหาร ระบำชุมนุมเผ่าไทย ระบำอธิษฐาน ระบำในน้ำมีปลา ระบำระฆัง ระบำนกสามหมู่ ระบำเชิญพระขวัญ ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ฟ้อนแพน ฟ้อนแคน เซิ้งสราญ เซิ้งสัมพันธ์ เป็นต้น

 

ในการคิดค้นท่ารำนั้น บางท่ารำครูลมุลสามารถนำเอาท่ารำของนาฏศิลป์เพื่อนบ้านมาดัดแปลงประดิษฐ์ขึ้นใหม่ได้อย่างแนบเนียนกลมกลืน ซึ่งเป็นแนวคิดและกลวิธีที่ครูนาฏศิลป์ในรุ่นต่อๆ มาได้นำมาใช้เป็นแบบอย่าง

นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้ร่างหลักสูตรให้แก่วิทยาลัยนาฏศิลป ซึ่งนับว่าท่านเป็นครูนาฏศิลป์คนแรกในการวางหลักสูตรการเรียนการสอนนาฏศิลป์ไทย ทำให้การเรียนนาฏศิลป์มีระบบ มีขั้นตอนในการฝึกหัด นับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าที่ท่านฝากไว้แก่แผ่นดิน

 

ขอขอบคุณแหล่งที่มาจาก : https://sites.google.com/site/sittipanareerat422/bth-thi2-kar-saedng-natsilp-thiy/kar-pradisth-tha-ra-ni-kar-saedng-natsilp