สตีเฟน ฮอว์คิง

เปิดประวัติ สตีเฟน ฮอว์คิง นักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักจักรวาลวิทยา

Home / กระแสข่าววันนี้ / เปิดประวัติ สตีเฟน ฮอว์คิง นักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักจักรวาลวิทยา

ประวัติ สตีเฟน ฮอว์คิง

สตีเฟน วิลเลียม ฮอว์คิง (Stephen William Hawking) เกิดเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2485 ที่เมืองอ๊อกซฟอร์ดไชร์ ประเทศอังกฤษ สตีเฟน วิลเลียม ฮอว์คิง เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักจักรวาลวิทยา ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ หนังสือวิทยาศาสตร์ของเขาและการปรากฏตัวต่อสาธารณะได้ทำให้เขาเป็นผู้มีชื่อเสียงด้านวิชาการ และในด้านผลงานวิทยาศาสตร์สำคัญของเขาจนถึงปัจจุบันมีการบัญญัติทฤษฎีบทเกี่ยวกับภาวะเอกฐานเชิงความโน้มถ่วงในกรอบของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ร่วมกับโรเจอร์ เพนโรส และการทำนายเชิงทฤษฎีที่ว่าหลุมดำควรปล่อยรังสี ซึ่งปัจจุบันมีชื่อว่า รังสีฮอว์คิง (บางครั้งเรียก รังสีเบเคนสไตน์-ฮอว์คิง)

 

สตีเฟน วิลเลียม ฮอว์คิง
สตีเฟน วิลเลียม ฮอว์คิง

 

สตีเฟน ฮอว์คิง แต่งงานครั้งแรกกับ เจน ไวลด์ ซึ่งภายหลังได้หย่าร้างและได้แต่งงานใหม่กับพยาบาล เอเลน เมสัน ปัจจุบัน สตีเฟน ฮอว์คิงต้องนั่งรถไฟฟ้าที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเขาพูดและขยับตัวไม่ได้ ทำได้เพียงขยับนิ้วและกะพริบตา แต่ก็ยังสามารถสื่อสารกับโลกภายนอกได้ด้วยอุปกรณ์พิเศษที่สังเคราะห์เสียงพูดได้จากตัวอักษร

สตีเฟน ฮอว์คิง เสียชีวิตในวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 2018 ด้วยอายุ 76 ปี

 

สตีเฟน ฮอว์คิง
สตีเฟน ฮอว์คิง

 

สตีเฟน ฮอว์คิง
สตีเฟน ฮอว์คิง

 

ด้านการศึกษาของ สตีเฟน ฮอว์คิง

ในวัยเด็ก สตีเฟน ฮอว์คิง เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนเซนต์แอลแบน หลังจากนั้น สตีเฟน ฮอว์คิง ก็ได้เข้าศึกษาต่อในสาขาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด และได้รับปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2505 และต่อมา สตีเฟน ฮอว์คิง จึงได้เข้าศึกษาที่ทรินิตีคอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในสาขาจักรวาลวิทยา และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตเมื่อปี พ.ศ. 2509 หลังจากนั้นก็ได้รับการคัดเลือกเป็นนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด

 

สตีเฟน ฮอว์คิง
สตีเฟน ฮอว์คิง

 

ในต้นทศวรรษที่ 1960 (ประมาณ พ.ศ. 2503-2508) สตีเฟน ฮอว์คิง ก็มีอาการที่เรียกว่า amyotrophic lateral sclerosis (ALS) อันเป็นอาการผิดปกติของระบบประสาทโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยมีผลกับประสาทสั่งการ (motor neurons) นั่นคือ เส้นประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อส่วนนั้นจะอ่อนแอลงจนเกือบเป็นอัมพาต แต่เขายังคงทำงานวิชาการต่อไป

 

สตีเฟน ฮอว์คิง
สตีเฟน ฮอว์คิง

 

ด้านการทำงานของ สตีเฟน ฮอว์คิง

สตีเฟน ฮอว์คิง เริ่มทำงานในสาขาสัมพัทธภาพทั่วไปโดยเน้นที่ฟิสิกส์ของหลุมดำ
ในปี พ.ศ. 2513 สตีเฟน ฮอว์คิง และเพนโรสก็ได้ร่วมกันเขียนรายงานสรุปว่าทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ นั้นกำหนดให้เอกภพต้องเริ่มต้นในซิงกูลาริตี้ ซึ่งปัจจุบันนี้รู้จักกันว่า บิ๊กแบง และจะสิ้นสุดลงที่ หลุมดำ
ในปี พ.ศ. 2517 สตีเฟน ฮอว์คิง ได้เป็นสมาชิกที่มีอายุน้อยที่สุดของราชบัณฑิตยสถานของอังกฤษ และได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์สาขาฟิสิกส์แรงโน้มถ่วง ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในปี พ.ศ. 2520
ในปี พ.ศ. 2522 ได้รับการแต่งตั้งเป็น “เมธีคณิตศาสตร์ลูเคเชียน”

 

ผลงานของ สตีเฟน ฮอว์คิง

  • Plan of The Blume “Road to Smart City” (1965)
  • A Large Scale Structure of Space-Time ร่วมกันเขียนกับ G.F.R. Ellis (1973)
  • Superspace and Supergravity (1981)
  • The Very Early Universe (1983)
  • A Brief History of Time : from the Big Bang to Black Holes (1988)
  • Black Holes and Baby Universe and Other Essays (1994)

 

– ขอบคุณข้อมูลจาก : wikipedia , insightssuccess.in , time.com , 24smi.org –