กันยายน ประวัติ สืบ นาคะเสถียร สืบ นาคะเสถียร ห้วยขาแข้ง

สืบ นาคะเสถียร วีรบุรุษ แห่งห้วยขาแข้ง

Home / วันสำคัญ / สืบ นาคะเสถียร วีรบุรุษ แห่งห้วยขาแข้ง

1 กันยายน วันรำลึก หัวหน้าพงไพร สืบ นาคะเสถียร

ห้วยขาแข้ง ผืนป่าที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุด ตั้งอยู่ในจังหวัด อุทัยธานี โดยมีวีรบุรุษหนึ่งเดียว ที่เป็นตำนานแห่งป่านห้วยขาแข้งนี้ นั่นคือ สืบ นาคะเสถียร ซึ่งเป็นผู้ที่ต่อสู้กับผู้บุกรุก และปกป้องพื้นป่า รวมไปถึงพืชพันธุ์ไม้ สัตว์ป่าต่างๆ ให้อยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ แต่แล้วเส้นทางชีวิตของ สืบ นาคะเสถียร ก็ต้องสิ้นสุดลง ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2533 วันนี้เราจึงจะมาร่วมระลึกหัวหน้ารักษาป่ากันครับ


สืบ นาคะเสถียร

สืบ นาคะเสถียร หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง สืบ นาคะเสถียร ชื่อเดิมว่า สืบยศ เกิดเมื่อวัน เสาร์ ที่ 31 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2492 ตำบล ท่างาม อำเภอ เมือง จังหวัด ปราจีนบุรี บิดาชื่อ นายสลับ มารดาชื่อ นางบุญเยี่ยม มีพี่น้องทั้งหมด 3 คน โดย สืบ เป็นบุตรชายคนโตของครอบครัว น้องชายและน้องสาว คือ นายกอบกิจ นาคะเสถียร และน้องสาว กัลยา รักษาสิริกุล สืบ นาคะเสถียร มีบุตรสาว 1 คน ชื่อ ชินรัตน์ สืบมีบุคลิกประจำตัว คือ เมื่อเขาสนใจหรือตั้งใจทำอะไรแล้วก็จะมีความมุ่งมั่น ตั้งใจทำอย่างจริงจังจนประสบความสำเร็จ เวลาว่างในวัยเด็ก สืบ ชอบท่องเที่ยว โดยมีหนังสติ๊กคู่ใจ รวมเดินทางด้วย

สืบ นาคะเสถียร เข้าเรียนประถมตอนต้นที่โรงเรียนประจำจังหวัดปราจีนบุรี เมื่อเรียนจบประถม 4 ได้ไปเรียนต่อที่ โรงเรียนเซนต์หลุยส์ จังหวัดฉะเชิงเทรา จนจบมัธยมศึกษาปีที่ 5 และได้เข้าศึกษาในคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2511 และจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2514 และต่อมาได้ทำงานที่สวนสาธารณะของการเคหะแห่งชาติ ใน พ.ศ. 2517

สืบ นาคะเสถียร ได้เข้าศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาวิชาวนวัฒน์วิทยา ที่คณะวนศาสตร์ มหาลัยเกษตรศาสตร์ สำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2518 ได้เริ่มชีวิตข้าราชการ โดยบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งพนักงานป่าไม้ตรี กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 สืบ ได้รับทุนการศึกษาจากบริติชเคาน์ซิลเรียนต่อในระดับปริญญาโทอีกครั้ง สาขาอนุรักษ์วิทยา ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน ในอังกฤษและ จบการศึกษาในปี พ.ศ. 2524

 

สืบ นาคะเสถียร กับหน้าที่อนุรักษ์สัตว์ป่า

สืบ นาคะเสถียร ได้กลับเข้ามารับราชการที่กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ ในปี พ.ศ. 2531 และสืบได้พยายามเสนอให้ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และป่าห้วยขาแข้ง มีฐานะเป็นมรดกโลกอย่างเป็นทางการ จากองค์การสหประชาชาติ โดยเล็งเห็นว่าฐานะดังกล่าวจะเป็นหลักประกันสำคัญ ที่จะคุ้มครองป่าผืนนี้เอาไว้อย่างถาวร

โดยปลายปี พ.ศ. 2532 สืบได้รับทุนเรียนต่อระดับปริญญาเอกที่อังกฤษ พร้อมกับได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งเป็นป่าอนุรักษ์ที่มีความสำคัญมากไม่แพ้ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ในปี พ.ศ. 2533 สืบได้จัดตั้งกองทุนเพื่อรักษาป่าห้วยขาแข้งและทุ่งใหญ่นเรศวร ได้เป็นวิทยากรบรรยาย และร่วมอภิปรายในโอกาสและสถานที่ต่างๆ หลายแห่ง โดยเน้นเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและปัญหาที่เกี่ยวข้อง” และ “การอพยพสัตว์ป่าตกค้างในเขื่อนเชี่ยวหลาน

สืบ ได้แสดงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะรักษาป่าผืนนี้ไว้ให้ได้อย่างชัดแจ้ง ได้ประกาศให้รู้ทั่วกันว่า “ผมมารับงานที่นี่ โดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน
ตั้งแต่วันแรกที่เข้าไปรับงานหัวหน้าเขตฯ ถึงแม้กระนั้นก็ยังไม่สามารถปกป้องป่าได้

เนื่องจากการดูแลผืนป่าขนาดมากกว่าหนึ่งล้านไร่ ด้วยงบประมาณและกำลังคนที่จำกัด รวมถึงการทุจริตของเจ้าหน้าที่ กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ไม่สามารถแก้ไขได้โดยง่าย และมากกว่านั้นปัญหาความยากจนของชาวบ้านที่อยู่อาศัยโดยรอบเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทำให้กลุ่มผู้มีอิทธิพลที่หวังผลประโยชน์ได้ว่าจ้างชาวบ้านในเขตป่าสงวนเข้ามาตัดไม้ และลักลอบล่าสัตว์ในเขตป่าอนุรักษ์

 

การเสียสละด้วยชีวิต

บ้านพักของสืบในห้วยขาแข้งสถานที่ที่เขาเลือกที่จบชีวิตลง เช้ามืดวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2533 สืบ นาคะเสถียร ตัดสินใจจบชีวิตตัวเองลง สืบได้สั่งเสียลูกน้องคนสนิทและเขียนจดหมายสั่งเสีย 6 ฉบับ ชำระสะสางภาระรับผิดชอบ และทรัพย์สินส่วนตัวที่คั่งค้าง รวมถึงมอบหมาย เครื่องใช้ และอุปกรณ์ในการศึกษาวิจัยด้านสัตว์ป่า ให้สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ เพื่อนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ตั้งศาลเพื่อแสดงความคารวะต่อดวงวิญญาณของเจ้าหน้าที่ ซึ่งพลีชีพรักษาป่าห้วยขาแข้ง แล้วสวดมนต์ไหว้พระจนจิตใจสงบ เสียงปืนดังขึ้นนัดหนึ่งในราวป่าลึก ที่ห้วยขาแข้ง สืบ นาคะเสถียร ได้จบชีวิตของเขาลง และเป็นจุดเริ่มต้นของ “ตำนานนักอนุรักษ์ไทย สืบ นาคะเสถียร ผู้ที่รักป่าไม้ สัตว์ป่าและธรรมชาติ ด้วยกายและใจ

 

ผลงานวิชาการของสืบ

1. พ.ศ. 2524 การทำรังวางไข่ของนกบางชนิดที่ อ่างเก็บน้ำบางพระ จ.ชลบุรี สัมมนาสัตว์ป่าเมืองไทย

2. พ.ศ. 2526 รายงานการสำรวจนก บริเวณอ่างเก็บน้ำบางพระ จ.ชลบุรี สัมมนาสัตว์ป่าเมืองไทย

3. พ.ศ. 2527 รายงานผลการวิจัย การจัดการป่าไม้บริเวณ พื้นที่ป่าต้นน้ำคลองแสง โครงการเขื่อนเชี่ยวหลาน จ.สุราษฎร์ธานี

4. พ.ศ. 2528 การศึกษานิเวศวิทยาของสัตว์ป่า ในบริเวณโครงการ ศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาภูพาน ตามพระราชดำริ

5. พ.ศ. 2529 นิเวศวิทยาป่าไม้และสัตว์ป่า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวรและ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยขาแข้ง

6. พ.ศ. 2529 รายงานผลการจับเนื้อทราย ที่เกาะกระดาษ

7. พ.ศ. 2529 เลียงผาที่พบในประเทศไทย การกระจายถิ่นที่อยู่อาศัย และพฤติกรรมบางประการ

8. สำรวจถิ่นที่อยู่อาศัยของเก้งหม้อ

9. พ.ศ. 2530 นิเวศวิทยาป่าไม้และสัตว์ป่า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จ.กาญจนบุรี และ จ.ตาก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี และ จ.ตาก กุมภาพันธ์  โดย สืบ นาคะเสถียร, นริศ ภูมิภาคพันธุ์, ศักดิ์สิทธิ์ ซิ้มเจริญ

10. การสำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับ สัตว์ป่าในพรุโต๊ะแดง จ.นราธิวาส

11. พ.ศ. 2532 การอพยพสัตว์ป่า ในอ่างเก็บน้ำรัชชประภา สัมมนาสัตว์ป่า

12. วิเคราะห์ความเหมาะสม จากรายงานและแผนการ แก้ไขผลกระทบด้านทรัพยากร ป่าไม้และสัตว์ป่า

13. โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ แควใหญ่ตอนบน (Assessment on Report and Impact Assessment Plan on Forestry and Wildlife of Upper Quae Yai Project)

14. รายงานการประเมินผลงาน ช่วยเหลือสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน) จ.สุราษฏร์ธานี

15. Nomination of the Thung Yai-Huay Kha Khaeng Wildlife Sanctuary to be a UNESCO World Heritage Site, May 1990 Submitted by the Wildlife Conservation Division, Royal Forest Department Prepared Seub Nakasathien and Belinda Stewart-Cox

ทั้งนี้ สืบ นาคะเสถียร ยังได้เอ่ยถ่อยคำที่บ่องบอกถึงความรับผิดชอบ และความจริงใจในการทำหน้าที่อนุรักษ์ผืนป่าห้วยขาแข้ง และสัตว์ป่าว่า

 “ผมคิดว่า ชีวิตผมทำได้ดีที่สุดแล้ว เท่าที่ผมมีชีวิตอยู่
ผมคิดว่า ผมได้ช่วยเหลือสังคมดีแล้ว
ผมคิดว่า ผมได้ทำตามกำลังของผมดีแล้ว
และ…ผมพอใจ ผมภูมิใจสิ่งที่ผมทำ …”

สืบ นาคะเสถียร

หลังจากที่ สืบ นาคเสถียรได้จบชีวิตของตัวเองลงไป ศิลปินต่างๆ ได้มีการเขียนเพลงขึ้น ทั้งคาราบาวด้วยบทเพลง “สืบทอดเจตนา” และบทเพลง “ไม้ขีดไฟกับดอกทานตะวัน” โดย วิยะดา โกมารกุล ซึ่งได้เขียนเพลงตัวแทนสืบ นาคะเสถียร เป็นไม้ขีดไฟ ที่ยอมจุดไฟตัวเอง เพื่อให้ดอกทานตะวันหันมอง (ยอมให้รัฐบาลหรือผู้ที่เกี่ยวข้องหันมาดูแลผืนป่าอย่างจริงจัง)

———————————-

เจ้าไม้ขีดไฟ ก้านน้อยเดียวดาย
แอบรักดอกทานตะวัน
แรกแย้มยามบาน อวดแสงตะวัน
ช่างงดงามเกินจะเอ่ย ดอกเหลืองอำพัน ไม่หันมามอง
แม้เหลียวมา ยังไม่เคย
ไม้ขีดเจ้าเอ๋ย เลยได้แต่ฝัน ข้างเดียว
ดอกไม้จะบาน และหันไปตาม
แต่แสงจากดวงอาทิตย์ จุดตัวเองก็ยอมทันใด ให้ลุกเป็นไฟ ขึ้นมา
เพียงปรารถนา ให้มีลำแสง สีทอง
จุดตัวเองก็ยอมทันใด ให้ลุกเป็นไฟขึ้นมา
เพียงปรารถนา ดอกทานตะวัน หันมอง สักครั้งเจ้าไม้ขีดไฟ ก้านน้อยเดียวดาย
สาดแสงในใจ ไม่นาน
ดอกเหลืองอำพัน จึงหันมามอง
และพบเพียงกองเถ้าถ่าน เจ้าไม้ขีดไฟ ก้านน้อยเดียวดาย
เพราะรักจริงใจ อย่างนั้น
เพียงแค่เธอหัน เพียงแค่เธอมอง ก็พอ
ดอกไม้จะบาน และหันไปตาม
แต่แสงจากดวงอาทิตย์ จุดตัวเอง ก็ยอมทันใด ให้ลุกเป็นไฟ ขึ้นมา
เพียงปรารถนา ให้มีลำแสง สีทอง
จุดตัวเอง ก็ยอมทันใด ให้ลุกเป็นไฟ ขึ้นมา
เพียงปรารถนา ดอกทานตะวัน หันมอง จุดตัวเอง ก็ยอมทันใด ให้ลุกเป็นไฟ ขึ้นมา
เพียงปรารถนา ให้มีลำแสง สีทอง
จุดตัวเอง ก็ยอมทันใด ให้ลุกเป็นไฟ ขึ้นมา
เพียงปรารถนา ดอกทานตะวัน หันมอง สักครั้ง
———————————-

บทเพลง “สืบทอดเจตนา” แต่งโดย ยืนยง โอภากุล หรือ แอ็ด คาราบาว (ปี 2533)
เขียนเพลงนี้หลังจากที่สืบ นาคะเสถียร เสียชีวิตลงไปเพียงไม่กี่วัน ถือว่าเป็นบทเพลงแรกที่กล่าวถึง สืบ นาคะเสถียร และเป็นบทเพลงที่ทำให้คนไทยจำนวนมาก ได้รู้จักว่าโลกนี้เคยมีคนที่ชื่อสืบ นาคะเสถียรอยู่ เนื้อหาแต่ละท่อน ตั้งแต่บรรทัดแรก จนบรรทัดสุดท้ายได้บรรยายเอกลักษณ์ของความเป็นสืบ นาคะเสถียร ออกมาได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง
———————————-

ดวงตาของเจ้าลุกโชน เสียงตะโกนของเจ้าก้องไพร
บัดนี้เจ้านอนทอดกาย จากป่าไปด้วยดวงใจกังวล
วาจาของเจ้าจริงจัง มีพลังเหมือนดังมีมนต์
นักสู้ของประชาชน จะมีกี่คนทำได้ดั่งเจ้า

สืบ นาคะเสถียร เป็นบทเรียนของกรมป่าไม้
หัวหน้ารักษาพงไพร จังหวัดอุทัย ณ.ห้วยขาแข้ง

สองมือเจ้าเคยฟันฝ่า อีกสองขาเจ้าย่างย่ำไป
ลัดเลาะสุมทุมพุ่มไม้ ตระเวนไพรให้ความคุ้มครอง
ดูแลสารทุกข์สารสัตว์ ในป่ารกชัฎหลังห้วยลำคลอง
ขาแข้งเหมือนดังขาน่อง สองขาเจ้าย่ำนำความร่มเย็น

สืบ นาคะเสถียร เป็นบทเรียนข้าราชการไทย
ถือประโยชน์ของชาติเป็นใหญ่ ถึงตัวจะตายไม่เสียดายชีวา

สืบ นาคะเสถียร เป็นบทเรียนของกรมป่าไม้
หัวหน้ารักษาพงไพร จังหวัดอุทัย ณ.ห้วยขาแข้ง

เช้าวันที่หนึ่งกันยา ในราวป่าเสียงปืนกึกก้อง
หยาดนี้เพื่อนน้ำตานอง จากข่าวร้ายกลางป่าอุทัย
วิญญาณเจ้าจงรับรู้ คนที่ยังอยู่ยังยืนหยัดต่อไป
เพื่อนเอ๋ยหลับให้สบาย เจ้าจากโลกไปมิให้สูญเปล่า

สืบเอ๋ยเจ้าจากไป ไม่สูญเปล่า

———————————-