ไข้หวัดหมู หรือ ไข้หวัดใหญ่สุกร (Swine Flu)

Home / สกูปอื่นๆ / ไข้หวัดหมู หรือ ไข้หวัดใหญ่สุกร (Swine Flu)

ไข้หวัดหมู หรือ ไข้หวัดใหญ่สุกร (swine influenza) สายพันธุ์ใหม่ หรือโรค “เอชวันเอ็นวัน” (H1N1) ได้ระบาดในโลกตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา โดยเริ่มแรก ไข้หวัดหมู ในนครเม็กซิโกซิตีกับทั้งภาคส่วนอื่นของประเทศเม็กซิโก ตลอดจนอีกหลายภาคส่วนของสหรัฐอเมริกาก็มีการรายงานการพบ ไข้หวัดหมูเช่นกัน

นอกจานี้ยังมีรายงาน ไข้หวัดหมู ในประเทศนิวซีแลนด์ยัง พบกรณีคล้ายจะเป็นการระบาดของไข้หวัดหมู หรือ ไข้หวัดใหญ่ดังกล่าวอีกสิบกรณี แต่ยังไม่มีการรับรองรายงานดังกล่าว นอกจากนี้ ยังพบผู้ต้องสงสัยว่าจะป่วยเป็นไข้หวัดหมู หรือ ไข้หวัดใหญ่สุกรอีกหนึ่งพันรายทั่วโลก และโดยที่ยังไม่อาจรับรองว่าผู้ป่วยดังกล่าวทุกคนเป็นไข้หวัดใหญ่สุกร องค์การอนามัยโลกจึงเรียกภาวะเช่นนี้โดยรวมว่า “ภาวะเจ็บป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่” ( influenza-like illnesses)

ไข้หวัดใหญ่สุกร หรือ ไข้หวัดหมู สายพันธุ์ใหม่ที่ระบาดครั้งนี้ มีอาการเสมือนโรคไข้หวัดใหญ่รุนแรง ซึ่งผู้ป่วยโรคไข้หวัดหมูบางรายในประเทศเม็กซิโกยังเป็นโรคเสมือนปอดอักเสบอีกด้วย ก่อนถึงแก่ความตาย โดยปรากฏว่าสายพันธุ์ดังกล่าวมีวิวัฒนาการบางส่วนมาจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ในมนุษย์ ชนิดเอ หรือ “เอชวันเอ็นวัน” ( H1N1) บางส่วนมาจากไข้หวัดใหญ่ในสัตว์ปีก หรือ “เอชไฟฟ์เอ็นวัน” ( H5N1) หรือที่เรียก “ไข้หวัดนก” และบางส่วนมาจากไข้หวัดใหญ่สุกร

เนื่องจากเชื่อไข้หวัดหมู สายพันธุ์ใหม่ สามารถส่งผ่านระหว่างมนุษย์สู่มนุษย์ และส่งผลให้มียอดการตายของผู้ป่วย ไข้หวัดหมู ในประเทศเม็กซิโกสูงมาก องค์การอนามัยโลก และศูนย์ควบคุมโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Centers for Disease Control) จึงร่วมกันแสดงความกังวลว่าสถานการณ์ครั้งนี้อาจเลวร้ายลงจนกลายเป็น “ภาวะระบาดทั่วของไข้หวัดใหญ่” ( influenza pandemic) ได้

ในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2552 องค์การอนามัยโลกจึงประกาศกำหนดอย่างเป็นทางการว่า การระบาดของไข้หวัดหมู หรือ ไข้หวัดใหญ่สุกรสายพันธุ์ใหม่ครั้งนี้เป็น “สถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ” นอกจากนี้ หน่วยงานด้านสาธารณสุขของรัฐบาลทั่วโลก รวมถึงศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งยุโรป (European Centre for Disease Prevention and Control) องค์กรพิทักษ์สาธารณสุขแห่งสหราชอาณาจักร ( UK Health Protection Agency) และองค์กรสาธารณสุขแห่งแคนาดา (Public Health Agency of Canada) ได้พร้อมใจกันแสดงความกังวลและเฝ้าติดตามการระบาดของ โรคไข้หวัดหมู ในครั้งนี้อย่างใกล้ชิด

สำหรับในประเทศไทย ยังไม่มีรายงานการป่วยของโรคไข้หวัดหมูแต่อย่างใด