ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

Home / งานราชการ / ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

ความเป็นมา

ข้อมูลทั่วไป

แนวคิดในการออกแบบ

หน่วยงาน ราชการ

รับสมัครงานราชการ

แกลอรี่รูป

ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ

ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ตั้งอยู่ที่ถนนแจ้งวัฒนะ เป็นสถานที่ที่รวมหน่วยงานราชการต่างๆไว้ในที่เดียวกัน รวมทั้งสิ้น 29 หน่วยงาน เช่น กระทรวงยุติธรรม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นต้น โดยมีแนวคิดในการบริหารพื้นที่ราชพัสดุ และทรัพยากรของราชการร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด


ความเป็นมา

บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ในฐานะหน่วยงานบริหารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ มีภารกิจในการบริหารจัดการ ตลอดจนควบคุมการดำเนินงานของโครงการในทุกขั้นตอนให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่ ตั้งไว้ โดยเน้นให้เกิดการใช้ที่ดินราชพัสดุ ให้คุ้มค่า เต็มศักยภาพที่มี ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินทรัพย์ภาครัฐ สร้างรายได้ให้รัฐบาล และกระตุ้นให้เกิดการยกระดับคุณภาพชีวิตข้าราชการ ตลอดจนการให้บริการประชาชน อันเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างมั่นคงและยั่งยืน

ที่ ผ่านมา กรมธนารักษ์ในฐานะหน่วยงานบริหารจัดการที่ราชพัสดุ ได้มีการจัดสรรที่ดินให้หน่วยงานราชการหลายแห่งนำไปใช้สร้างอาคารที่ทำการมา โดยตลอด แต่เมื่อความต้องการดังกล่าวมีมากขึ้น ทำให้กรมธนารักษ์ต้องสรรหาแนวทางในการจัดสรรที่ดินราชพัสดุ เพื่อตอบสนองความต้องการได้อย่างเพียงพอ รวมไปถึงหน่วยงานราชการหลายแห่งตั้งอยู่บนสถานที่อันไม่เหมาะสม ทั้งแออัด คับแคบ และขาดการดูแล บริหารจัดการที่ดี จึงเป็นที่มาของแนวคิดการบริหารที่ราชพัสดุแนวใหม่ ที่มุ่งเน้นการใช้ที่ราชพัสดุให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการนำที่ดินราชพัสดุมาใช้สร้างเป็นศูนย์ราชการขนาดใหญ่ แล้วให้แต่ละหน่วยงานมาใช้พื้นที่ร่วมกัน โดยคิดค่าเช่าที่ราชพัสดุ ในอัตราค่าเช่าที่เหมาะสม โดยบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด จะเป็นหน่วยงานหลักในการบริหาร

แนวคิดในการออกแบบ

ศูนย์ราชการ เฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ได้รับการออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยเป็นสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น ทันสมัย และสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ
ด้วยการออกแบบที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ ผสมผสานธรรมชาติเข้ากับการออกแบบได้อย่างลงตัว ตอบสนองความต้องการใช้งานของแต่ละหน่วยงาน และสามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ตามความเหมาะสม ขณะเดียวกันก็สามารถอำนวยความสะดวกในการติดต่อประสานงานทั้งระหว่างหน่วยงาน เอง และระหว่างหน่วยงานกับประชาชนได้เป็นอย่างดี
สิ่งสำคัญ คือ อาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แห่งนี้ จะช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน สนับสนุนการให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ตลอดจนสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการเป็น อาคารประหยัดพลังงาน ทั้งในส่วนของ การออกแบบ และการใช้ ระบบ Co-Generation


ประโยชน์ที่จะได้รับ

1. มีศูนย์ราชการที่เป็นอาคารประหยัดพลังงานและมีเทคโนโลยีทันสมัยแห่งแรกของ
2. เพิ่มความสะดวกในการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานและ การให้บริการประชาชน
3. ประหยัดค่าเช่าสำนักงานที่หน่วยงานต้องเช่าจากให้เอกชน
4. เพิ่มรายได้ให้รัฐ
5. ส่งเสริมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่หน่วยราชการใช้ที่ราชพัสดุอยู่เดิม ให้เกิดประโยชน์ที่เหมาะสมตามศักยภาพ
6. อสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดเป็นของรัฐเมื่อสิ้นสุดโครงการ