ก.พ. งานราชการ

Home / งานราชการ / ก.พ. งานราชการ

ก.พ.คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

สอบ ก.พ. ประจำปี 2556 เปิดแล้วจ้าา คลิกที่นี่ สอบ ก.พ.

ก.พ. คือ อะไร ทำไมถึงเรียกกันว่า “กพ”
คณะกรรมการข้า ราชการพลเรือน หรือ ก.พ. คือ คณะกรรมการที่รับผิดชอบงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อปีพุทธศักราช 2471 โดยมีชื่อเรียกในขณะนั้นว่า “ก.ร.พ.” หรือ “คณะกรรมการรักษาพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน

 

ประวัติ ก.พ.

ระบบข้าราชการพลเรือนไทย ในปัจจุบันวัฒนาการมา จากระบบ ข้าราชการ ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งก่อน พ.ศ.2472 ยังไม่มีการกำหนดคุณสมบัติของบุคคลที่จะเข้ารับราชการ และไม่มีระเบียบข้าราชการพลเรือนส่วนกลาง ให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกันจนกระทั่ง
สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตรับสั่งในที่ ประชุมอภิรัฐมนตรีสภา

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2468 ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าทรงเห็นควรมีกรรมการสอบ คัดเลือกคนเข้ารับราชการ และทรงโปรดเกล้าฯ ให้กรมพระดำรงราชานุภาพคิดวางระเบียบในเรื่องนี้ และได้ทูลเกล้าฯ ถวายก็เป็นเวลาใกล้เคียงกันกับที่ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทูลเกล้าฯ ถวายร่างพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการลงโทษข้า ราชการ พลเรือน ซึ่งนายอาร์.กี ยอง ที่ปรึกษาร่างกฎหมายชาวต่างประเทศ เป็นผู้ร่างถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ส่งร่างกฎหมายให้อภิรัฐมนตรี และเสนาบดีต่างๆ พิจารณาให้ความเห็นหลังจากอภิรัฐมนตรี และเสนาบดีต่างๆ ทูลเกล้าฯ ถวายความเห็นพร้อมทั้งมีคำวิจารณ์ของที่ปรึกษาชาวต่างประเทศ แล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งคณะกรรมการพิจารณาระเบียบข้าราชการพลเรือนขึ้นโดยมี

– พระเจ้าพี่ยาเธอกรมพระจันทบุรีนฤนาถ เป็นนายกกรรมการ
– พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าศุภโยคเกษม พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าธานีวัต เจ้าพระยาพิชัยญาติ และพระยาสารศาสตร์ศิริลักษณ์ เป็นกรรมการ – นายประดิษฐสุขุม ทำหน้าที่เป็นเลขานุการ

 

คณะกรรมการชุดนี้ได้พิจารณาปรับปรุงร่างระเบียบ ข้าราชการ พลเรือนนั้นแล้วนำทูลเกล้าฯ ถวาย หลังจากได้มีการประชุมปรึกษาเรื่องนี้ในเสนาบดีสภาแล้ว พร้อมกันนั้นก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งกรรมการกลางสำหรับรักษาระเบียบข้าราชการพลเรือนขึ้น เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2470

ทรงประกาศพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2471 พุทธศักราช 2471
ซึ่งให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2472 โดยมีกรรมการรักษาพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ซึ่งเรียกกันโดยย่อ ว่า “ก.ร.พ.” เป็นผู้รักษา และดำเนินตามพระราชบัญญัตินี้หลังจากการ เปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อพ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบข้าราชการพลเรือน ให้เข้ารูปตามระบอบการปกครองใหม่ โดยตราเป็นพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2476 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน 2477 ซึ่งเป็นวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยพระราชบัญญัติฉบับนี้ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “ก.พ.” จึงเกิดขึ้นแทน กรรมการรักษาพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน หรือ “ก.ร.พ.”

 

ต่อมาในปี 2518 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน คงแบ่งข้าราชการพลเรือนออกเป็น 2 ประเภท คือ กรรมการโดยตำแหน่ง ซึ่งได้แก่นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นประธาน ก.พ. และเลขาธิการ ก.พ. กับอีกส่วนหนึ่งคือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
ต่อมาได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2520 เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของ ก.พ. เป็นให้มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่น้อยกว่า 7 ราย แต่ไม่เกิน 9 ราย และเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของกรรมการเป็นให้ แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จากผู้ซึ่งรับราชการ หรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า

 

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2535 ได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการพลเรือนอีกครั้งหนึ่ง โดยตราเป็นพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราขการพลเรือน พ.ศ. 2535 และปรับเปลี่ยนองค์ประกอบของ ก.พ. ใหม่ ให้ประกอบด้วยกรรมการ 3 ประเภท คือ

1. กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรี ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธาน โดยมีปลัดกระทรวงการคลัง
ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติและเลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการ

2. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการ บริหารงานบุคคล ด้านการบริหาร และด้านการจัดการ และด้านกฎหมาย จำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน ซึ่งได้รับการสรรหาจากผู้ที่มีคุณสมบัติและตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้

3. กรรมการผู้แทนข้าราชการพลเรือน ได้แก่ ผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงรองปลัดกระทรวง อธิบดี หรือเทียบเท่าผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งได้รับเลือกจากผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว จำนวน 5 คน

ล่าสุด ใน พ.ศ. 2548 ได้มีการยกร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนอีกครั้ง โดยปรับเปลี่ยนบทบาทของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

 

งานราชการ

ข้าราชการ คือ บุคคลซึ่งรับการบรรจุแต่งตั้งให้รับราชการปฏิบัติหน้าที่ และรับเงินเดือนในกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ของประเทศไทย ส่วนองค์กรที่บุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานอยู่นั้นเรียก “ส่วนราชการ

ประวัติ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวางระเบียบข้าราชการพลเรือนเป็นครั้งแรก ให้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472 เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกสรรผู้มีความรู้และความสามารถเข้ารับราชการ โดยกำหนดให้มีข้าราชการ 3 ประเภท คือ

– ข้าราชการพลเรือนสามัญ คือ ข้าราชการที่รัฐบาลบรรจุแต่งตั้งไว้ตามระเบียบฯ แบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นสัญญาบัตร (รองอำมาตย์ตรีขึ้นไป) และชั้นราชบุรุษ
– ข้าราชการพลเรือนวิสามัญ คือ บุคคลที่รัฐบาลจ้างไว้ให้ทำการเฉพาะอย่าง หรือระยะเวลาชั่วคราว
– เสมียนพนักงาน คือ ข้าราชการชั้นต่ำ ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเดือนตามอัตราที่ตั้งไว้

 

ระบบราชการในประเทศไทย เป็นระบบการทำงานหลักควบคู่ไปกับ ระบบเอกชน และรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการ มีหลายประเภท เช่น ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการการเมือง ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการตุลาการ ข้าราชการอัยการ ข้าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพนัก งานราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น พนักงานมหาวิทยาลัย ซึ่งมีลักษณะการทำงานที่คล้ายคลึงกันกับ ข้าราชการ

 

ราชการในประเทศไทยมีสัญลักษณ์ในเอกสารเป็นรูป “ครุฑ” (ครุฑพ่าห์) เป็นสัญลักษณ์หมายถึงพระราชบัลลังก์ และตราประจำแผ่นดินของไทย ใช้ประทับบนหัวจดหมายราชการ การบริหารราชการขึ้นอยู่แต่ละส่วนราชการ ภายใต้พระราชบัญญัติบริหารส่วนราชการแต่ละส่วน เช่น พระราชบัญญัติข้า ราชการพลเรือน มีระเบียบบริหารราชการ อัตราเงินเดือนค่าจ้างค่าตอบแทนเป็นบัญชีต่างๆกันไป อีกทั้งมีการกำหนดเกณฑ์การเลื่อนลำดับชั้น งานหนังสือและสารบรรณ การเกษียณอายุ การเชิดชูเกียรติ เช่น การติดยศ การรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่เฉพาะต่างกันไป งบประมาณ ที่ใช้ในระบบราชการ ส่วนหนึ่งมาจากงบประมาณแผ่นดินซึ่งนำจากการเก็บภาษีจากประชาชนทั่วประเทศ

 

 

 

ขอบคุณข้อมูล : ก.พ. งานราชการ (www.ocsc.go.th, th.wikipedia.org)